วันพฤหัสบดีที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2552

ประสาทสัมผัสของแมว



ประสาทสัมผัสของแมว (sema.go.th)

การมองเห็น(Sight)


วิธีการล่าเหยื่อของแมว มีท่าทางการจ้องมองด้วยดวงตาทั้งสองข้างพร้อมทั้งการได้ยิน ของเสียงด้วยระบบการได้ยินของใบหูทั้งสองส่วนจัดสัมพันธ์กันเป็นองค์ประกอบด้านสื่อ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการรับรู้ได้ดีเป็นพิเศษ แต่แมวไม่สามารถที่จะแยกแยะในส่วนของสี ที่จะช่วยให้มันมองเห็นเป็นรูปร่างได้ทันที เนื่องจากหลังม่านกระจกแก้วตาแมวนั้นมีสิ่งกีดขวาง จึงไม่ช่วยให้แมวมองเห็นวัตถุได้อย่างใกล้ชิด

การที่ลูกนัยน์ตาแมวทั้งสองข้างมองเห็นได้นั้นเกิดจาก การควบคุมของระบบประสาทจึงทำให้มันมองเห็นภาพในระยะไกลได้ดีกว่าระยะใกล้ ลูกตาของแมวสามารถเคลื่อนมองได้กว้างถึง 205 องศา ทำให้แมวมองได้รอบทั่วบริเวณในที่แคบ ๆ ส่วนบริเวณพื้นที่กว้าง ๆ การเคลื่อนไหวของรูปร่างจะทำได้เพียงเล็กน้อยเนื่องจาก ระบบการมองเห็นที่ไม่อำนวยต่อมันนั่นเอง

การดมกลิ่น(Smell)

แมวได้ถูกพัฒนาความสามารถในระบบการรับรู้กลิ่นได้ดีเป็นอย่างยิ่ง สำหรับลูกแมวที่เกิดใหม่ ก่อนที่มันจะลืมตาได้นั้น มันจะใช้กลิ่นเป็นตัวนำเพื่อให้มันสามารถดูดนมแม่ได้ถึงแม้ว่าตายังไม่เปิด บริเวณหน้าผากของแมวจะมีต่อมผลิตกลิ่นพิเศษที่เรียกว่า สารฟีโรโมส์(Pheromose) เป็นกลิ่นเฉพาะของมัน การที่เราเห็นแมวชอบเอาศีรษะมาถูหรือสัมผัสกับคนเราหรือสิ่งของใด ๆ นั้น แสดงว่า มันได้ปล่อยกลิ่นของมันไว้ มันจึงแยกแยะรับรู้จากกลิ่นต่างๆที่เกิดขึ้นมาแล้วได้ การปล่อยกลิ่นไว้ในที่ต่าง ๆ ก็สามารถใช้แสดงความเป็นเจ้าของในสิ่งนั้นของมันได้ด้วย

แมวเป็นสัตว์ที่มีการรับรู้ที่ดี มันจะร่าเริงในช่วงที่อากาศอบอุ่นหรือได้รับไอแดด ซึ่งเป็นกลิ่นที่มันปรารถนา การที่เราเห็นแมวนั่งอยู่บริเวณประตูหรือหน้าต่างบ่อย ๆ ก็เพื่อสูดดมเอากลิ่นไอแดดมาปะทะเข้าจมูกมันนั่นเอง แต่กลิ่นที่ได้รับนั้นไม่สามารถกระตุ้นด้วยบริเวณจมูก แต่อากาศที่เข้าสู่จมูกจะถูกดึงดูดขึ้นไปตามท่อรูจมูกบริเวณศีรษะผ่านไปสู่ฟันกรามด้านบน แล้ววนไปสู่ระบบประสาทที่สามารถรับรู้กลิ่นได้ เป็นลักษณะเช่นเดียวกับการรับรู้กลิ่นของสัตว์ประเภทงู

การฟังหรือได้ยินเสียง(Hearing)

แมว สามารถรับฟังเสียงที่มีอัตราความถี่ประมาณ 30-45,000 Hertz โดยเป็นระยะทางกว้างไกลกว่าคนซึ่งได้ยินเพียง 2,000-5,000 Hertz หูของแมวจะมีสันโค้งเป็นจุดรวมการกรองของเสียงลักษณะใบหูจะมีขบวนการรับฟังเสียงที่มากระทบโสตประสาทบริเวณหูได้สูงมากในบริเวณ ต้นแหล่งของการเกิดเสียงสะท้อนแมวที่เราเลียงอยู่ในบ้านนั้นสามารถแยกเสียงฝีเท้าเดินของคนในบ้าน และคนแปลกหน้าที่เข้ามาในบ้านได้ด้วย

การสัมผัส(Touch)

แมวมักจะใช้อุ้งฝ่าเท้าส่วนหน้าในการจำแนกหรือวินิจฉัยวัตถุนั้นๆ โดยมีจมูกเป็นตัวกระตุ้น ที่สำคัญในการสัมผัส แมวสามารถมีแรงผลักดันของการรับรู้ในบริเวณช่วงขนที่ขึ้นยาว คือ หนวด คิ้ว และช่วงขนที่เป็นเส้นยาวบริเวณหลังอุ้งฝ่าเท้าคู่หน้า หนวดประเภทนี้จะช่วยให้มันทราบ ตำแหน่งที่ว่างของการรับรู้จากภายในตัวไปสู่บริเวณตำแหน่งของวัตถุได้ภายในไม่เกิน 1 นาที

นวัตกรรมและเทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์

นวัตกรรมและเทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์
1. ทฤษฎีการเรียนรู้เป็นอย่างไร
ทฤษฎีการเรียนรู้ (learning theory) การเรียนรู้คือกระบวนการที่ทำให้คนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ความคิด คนสามารถเรียนได้จากการได้ยินการสัมผัส การอ่าน การใช้เทคโนโลยี การเรียนรู้ของเด็กและผู้ใหญ่จะต่างกัน เด็กจะเรียนรู้ด้วยการเรียนในห้อง การซักถาม ผู้ใหญ่มักเรียนรู้ด้วยประสบการณ์ที่มีอยู่ แต่การเรียนรู้จะเกิดขึ้นจากประสบการณ์ที่ผู้สอนนำเสนอ โดยการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนและผู้เรียน ผู้สอนจะเป็นผู้ที่สร้างบรรยากาศทางจิตวิทยาที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ ที่จะให้เกิดขึ้นเป็นรูปแบบใดก็ได้เช่น ความเป็นกันเอง ความเข้มงวดกวดขัน หรือความไม่มีระเบียบวินัย สิ่งเหล่านี้ผู้สอนจะเป็นผู้สร้างเงื่อนไข และสถานการณ์เรียนรู้ให้กับผู้เรียน ดังนั้น ผู้สอนจะต้องพิจารณาเลือกรูปแบบการสอน รวมทั้งการสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน
สรุป ทฤษฎีการเรียนรู้ คือ กระบวนการการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของบุคคลอย่างค่อนข้างถาวร อันเป็นผลมาจากการฝึกฝนหรือการมีประสบการณ์

2. มีทฤษฎีอะไรบ้างทีเกี่ยวกับการเรียนรู้ และแต่ละทฤษฎีอย่างไร
ทฤษฎีการเรียนรู้ที่เป็นพื้นฐานของเทคโนโลยีการศึกษานั้นเป็นทฤษฎีที่ได้จาก 2 กลุ่ม คือ
1. กลุ่มพฤติกรรม (Behaviorism)
2. กลุ่มความรู้ (Cognitive)

1. ทฤษฎีจากกลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorism)
นักจิตวิทยาการศึกษากลุ่มนี้ เช่น chafe Watson Pavlov, Thorndike, Skinner ซึ่งทฤษฎีของนักจิตวิทยากลุ่มนี้มีหลายทฤษฎี เช่น ทฤษฎีการวางเงื่อนไข (Conditioning Theory) ทฤษฎีความสัมพันธ์ต่อเนื่อง (Connectionism Theory) ทฤษฎีการเสริมแรง (Stimulus-Response Theory)
เจ้าของทฤษฎีนี้คือ พอฟลอบ (Pavlov) ทฤษฎีการวางเงื่อนไข (Conditioning Theory) กล่าวไว้ว่า ปฏิกริยาตอบสนองอย่างใดอย่างหนึ่งของร่างกายของคนไม่ได้มาจากสิ่งเร้าอย่างใดอย่างหนึ่งแต่เพียงอย่างเดียว สิ่งเร้านั้นก็อาจจะทำให้เกิดการตอบสนองเช่นนั้นได้ ถ้าหากมีการวางเงื่อนไขที่ถูกต้องเหมาะสม
ทฤษฎีความสัมพันธ์ต่อเนื่อง (Connectionism Theory) เจ้าของทฤษฎีนี้ คือ ทอนไดค์ (Thorndike) ซึ่งกล่าวไว้ว่า สิ่งเร้าหนึ่ง ๆ ย่อมทำให้เกิดการตอบสนองหลาย ๆ อย่าง จนพบสิ่งที่ตอบสนองที่ดีที่สุด เขาได้ค้นพบกฎการเรียนรู้ที่สำคัญคือ
1. กฎแห่งการผล (Low of Effect)
2. กฎแห่งการฝึกหัด (Lowe of Exercise)
3. กฎแห่งความพร้อม (Low of Readiness)
ทฤษฎีการวางเงื่อนไข/ทฤษฎีการเสริมแรง (S-R Theory หรือ Operant Conditioning) เจ้าของทฤษฎีนี้คือ สกินเนอร์ (Skinner) กล่าวว่า ปฏิกริยาตอบสนองหนึ่งอาจไม่ใช่เนื่องมาจากสิ่งเร้าสิ่งเดียว สิ่งเร้านั้นๆ ก็คงจะทำให้เกิดการตอบสนองเช่นเดียวกันได้ ถ้าได้มีการวางเงื่อนไขที่ถูกต้อง
การนำทฤษฎีการเรียนรู้ของกลุ่มพฤติกรรมมาใช้กับเทคโนโลยีการศึกษานี้จะใช้ในการออกแบบการเรียนการสอนให้เข้ากับลักษณะดังต่อไปนี้คือ
1. การเรียนรู้เป็นขั้นเป็นตอน (Step by Step)
2. การมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ของผู้เรียน (Interaction)
3. การได้ทราบผลในการเรียนรู้ทันที (Feedback)
4. การได้รับการเสริมแรง (Reinforcement)
แนวคิดของสกินเนอร์นั้น นำมาใช้ในการสอนแบบสำเร็จรูป หรือการสอนแบบโปรแกรม (Program Inattention) สกินเนอร์เป็นผู้คิดบทเรียนโปรแกรมเป็นคนแรก

2. ทฤษฎีจากกลุ่มความรู้นิยม (Cognitive)
นักจิตวิทยากลุ่มนี้เน้นความสำคัญของส่วนรวม ดังนั้นแนวคิดของการสอนซึ่งมุ่งให้ผู้เรียนมองเห็นส่วนรวมก่อน โดยเน้นเรียนจากประสบการณ์ (Perceptual experience) ทฤษฎีทางจิตวิทยาของกลุ่มนี้ซึ่งมีชื่อว่า Cognitive Field Theory นักจิตวิทยาในกลุ่มนี้ เช่น โคเลอร์(kohler) เลวิน (Lawin) วิทคิน (Witkin) แนวคิดของทฤษฎีนี้จะเน้นความพอใจของผู้เรียน ผู้สอนควรให้ผู้เรียนทำงานตามความสามารถของเขาและคอยกระตุ้นให้ผู้เรียนประสบความสำเร็จ การเรียนการสอนจะเน้นให้ผู้เรียนลงมือกระทำด้วยตัวเขาเอง ผู้สอนเป็นผู้ชี้แนะ
การนำแนวคิดของนักจิตวิทยากลุ่มความรู้ (Cognition) มาใช้คือ การจัดการเรียนรู้ต้องให้ผู้เรียนได้รับรู้จากประสาทสัมผัส เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ จึงเป็นแนวคิดในการเกิดการเรียนการสอนผ่านสื่อที่เรียกว่า โสตทัศนศึกษา (Audio Visual)
ความหมายของการเรียนรู้
การเรียนรู้ (Learning) หมายถึง "การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปจากเดิม อันเป็นผลมาจากการได้รับประสบการณ์" พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงในที่นี้ มิได้หมายถึงเฉพาะพฤติกรรมทางกายเท่านั้น แต่ยังรวมถึงพฤติกรรมทั้งมวลที่มนุษย์แสดงออกมาได้ ซึ่งจะแยกได้เป็น 3 ด้านคือ
1. พฤติกรรมทางสมอง (Cognitive) หรือพุทธิพิสัย เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับข้อเท็จจริง (Fact) ความคิดรวบยอด (Concept) และหลักการ (Principle)
2. พฤติกรรมด้านทักษะ (Psychromotor) หรือทักษะพิสัย เป็นพฤติกรรมทางกล้ามเนื้อ แสดงออกทางด้านร่างกาย เช่น การว่ายน้ำ การขับรถ อ่านออกเสียง แสดงท่าทาง
3.พฤติกรรมทางความรู้สึก (Affective) หรือจิตพิสัย เป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นภายในเช่น การเห็นคุณค่า เจตคติ ความรู้สึกสงสาร เห็นใจเพื่อนมนุษย์ เป็นต้น

นักการศึกษา ได้ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมการเรียนรู้ของ มนุษย์ มีผลการศึกษาที่สอดคล้องกัน สรุปเป็นทฤษฎีการเรียนรู้ที่สำคัญ 2 ทฤษฎีคือ
1. ทฤษฎีสิ่งเร้าและการตอบสนอง (S-R Theory)
2. ทฤษฎีสนามความรู้ (Cognitive Field Theory)

1.ทฤษฎีสิ่งเร้าและการตอบสนอง (S-R Theory)
ทฤษฎีนี้มีชื่อเรียกหลายชื่อ ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ โดยเฉพาะในภาษาอังกฤษ มีชื่อเรียกต่างๆ เช่น Associative Theory, Associationism, Behaviorism เป็นต้น นักจิตวิทยาที่สำคัญในกลุ่มนี้ คือ พาฟลอฟ (Pavlov) วัตสัน (Watson) ธอร์นไดค์ (Thorndike) กัทธรี (Guthrie) ฮัล (Hull) และสกินเนอร์ (Skinner) ทฤษฎีนี้อธิบายว่า พื้นฐานการกระทำซึ่งเป็นผลมาจากการเรียนรู้ของแต่คน ขึ้นอยู่กับอิทธิพลของสิ่งแวดล้อม หน้าที่ของผู้สอน คือ คอยเป็นผู้จัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับผู้เรียน
หลักการของทฤษฎีสิ่งเร้าและการตอบสนอง
1.การเสริมแรง (Reinforcement) เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการตอบสนอง หรือให้เกิดพฤติกรรมการเรียนรู้ตามที่ต้องการเช่น การให้รางวัล หรือการทำโทษ หรือการชมเชย เป็นต้น ผู้สอนจึงควรจะหาวิธีจูงใจ ให้ผู้เรียนมีความอยากเรียนให้มากที่สุด
2. การฝึกฝน (Practice) ได้แก่การให้ทำแบบฝึกหัดหรือการฝึกซ้ำ เพื่อให้เกิดทักษะในการแก้ปัญหาที่สัมพันธ์กัน โดยเฉพาะวิชาที่เกี่ยวกับการปฏิบัติ
3.การรู้ผลการกระทำ (Feedback) ได้แก่ การที่สามารถให้ผู้เรียนได้รู้ผลการปฏิบัติได้ทันทีเพื่อจะทำให้ผู้เรียนได้ปรับพฤติกรรมได้ถูกต้องอันจะเป็นหนทางการเรียนรู้ที่ดี หน้าที่ของผู้สอนจึงควรจะต้องพยายามทำให้วิธีสอนที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์แห่งความสำเร็จ
4 .การสรุปเป็นกฎเกณฑ์ (Generaliation) ได้แก่ การได้รับประสบการณ์ต่าง ๆ ที่สามารถสร้างมโนทัศน์ (Concept) จนกระทั่งสรุปเป็นกฎเกณฑ์ที่จะนำไปใช้ได้
5. การแยกแยะ (Discrimination) ได้แก่ การจัดประสบการณ์ ที่ผู้เรียนสามารถแยกแยะความแตกต่างของข้อมูลได้ชัดเจนยิ่งขึ้นอันจะทำให้เกิดความสะดวกต่อการเลือกตอบสนอง
6. ความใกล้ชิด (Continuity) ได้แก่ การสอนที่คำนึงถึงความใกล้ชิดระหว่าง สิ่งเร้าและการตอบสนองซึ่งเหมาะสำหรับการสอนคำ เป็นต้น
แบบการเรียนรู้ของกาเย
กาเย (Gagne) ได้เสนอหลักที่สำคัญเกี่ยวกับการเรียนรู้ว่า ไม่มีทฤษฎีหนึ่งหรือทฤษฎีใดสามารถอธิบายการเรียนรู้ของบุคคลได้สมบูรณ์ ดังนั้น กาเย จึงได้นำทฤษฎีการเรียนรู้แบบสิ่งเร้าและการตอบสนอง (S-R Theory) กับทฤษฎีความรู้ (Cognitive Field Theory) มาผสมผสานกันในลักษณะของการจัดลำดับการเรียนรู้ดังนี้
1. การเรียนรู้แบบสัญญาณ (Signal Learning) เป็นการเรียนรู้แบบการวางเงื่อนไข เกิดจากความไกล้ชิดของสิ่งเร้าและการกระทำซ้ำผู้เรียนไม่สามารถควบคุมพฤติกรรมของตนเอง
2. การเรียนรู้แบบการตอบสนอง (S-R Learning) คือการเรียนรู้ที่ผู้เรียนสามารถควบคุมพฤติกรรมนั้นได้การตอบสนองเป็นผลจากการเสริมแรงกับโอกาสการกระทำซ้ำ หรือฝึกฝน
3. การเรียนรู้แบบลูกโซ่ (Chaining Learning) คือการเรียนรู้อันเนื่องมาจากการเชื่อมโยงสิ่งเร้ากับการตอบสนองติดต่อกันเป็นกิจกรรมต่อเนื่องโดยเป็นพฤติกรรมที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหว เช่นการขับรถ การใช้เครื่องมือ
4. การเรียนรู้แบบภาษาสัมพันธ์ (Verbol Association Learning) มีลักษณะเช่นเดียวกับการเรียนรู้แบบลูกโซ่ หากแต่ใช้ภาษา หรือสัญญลักษณ์แทน
5. การเรียนรู้แบบการจำแนก (Discrimination Learning) ได้แก่การเรียนรู้ที่ผู้เรียนสามารถมองเห็นความแตกต่าง สามารถเลือกตอบสนองได้
6. การเรียนรู้มโนทัศน์ (Concept Learning) ได้แก่การเรียนรู้อันเนื่องมาจากความสามารถในการตอบสนองสิ่งต่าง ๆ ในลักษณะที่เป็นส่วนรวมของสิ่งนั้น เช่นวงกลมประกอบด้วยมโนทัศน์ย่อยที่เกี่ยวกับ ส่วนโค้ง ระยะทาง ศูนย์กลาง เป็นต้น
7. การเรียนรู้กฏ (Principle Learning) เกิดจากความสามารถเชื่อมโยงมโนทัศน์ เข้าด้วยกันสามารถนำไปตั้งเป็นกฎเกณฑ์ได้
8. การเรียนรู้แบบปัญหา (Problem Solving) ได้แก่ การเรียนรู้ในระดับที่ ผู้เรียนสามารถรวมกฎเกณฑ์ รู้จักการแสวงหาความรู้ รู้จักสร้างสรรค์ นำความรู้ไปแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้จากลำดับการเรียนรู้นี้แสดงให้เห็นว่า พฤติกรรมการเรียนรู้แบบต้นๆ จะเป็นพื้นฐานของการเรียนรู้ระดับสูง
การประยุกต์ใช้ทฤษฎีการเรียนรู้
ทฤษฎีการเรียนรู้ต่างๆ สามารถนำไปประยุกต์ใช้เป็นหลักในการจัดการเรียนการสอน ได้ ในลักษณะต่างๆ เช่น การจัดสภาพที่เหมาะสมสำหรับการเรียนการสอน การจูงใจ การรับรู้ การเสริมแรง การถ่ายโยงการเรียนรู้ ฯลฯ

การจัดสภาพที่เอื้อต่อการเรียนรู้
การจัดการเรียนการสอน ที่สอดคล้องกับทฤษฎีการเรียนรู้ เพื่อเกิดประสิทธิภาพสูงสุดนั้นจะต้องคำนึงถึงหลักการที่สำคัญอยู่ 4 ประการคือ
1. ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนอย่างกระฉับกระเฉง เช่นการให้เรียนด้วยการลงมือปฏิบัติ ประกอบกิจกรรม และเสาะแสวงหาความรู้เอง ไม่เพียงแต่จะทำให้ผู้เรียนมีความสนใจสูงขึ้นเท่านั้น แต่ ยังทำให้ผู้เรียนต้องตั้งใจสังเกตและติดตามด้วยการสังเกต คิด และใคร่ครวญตาม ซึ่งจะมีผลต่อการเพิ่มพูนความรู้
2. ให้ทราบผลย้อมกลับทันที เมื่อให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติหรือตัดสินใจทำอะไรลงไป ก็จะมีผลสะท้อนกลับให้ทราบว่านักเรียนตัดสินใจถูกหรือผิด โดยทันท่วงที
3. ให้ได้ประสบการณ์แห่งความสำเร็จ โดยใช้การเสริมแรง เมื่อผู้เรียนแสดงพฤติกรรมที่พึงประสงค์หรือถูกต้อง ก็จะมีรางวัลให้ เพื่อให้เกิดความภาคภูมิใจ และแสดงพฤติกรรมนั้นอีก
4. การให้เรียนไปทีละน้อยตามลำดับขั้น ต้องให้ผู้เรียนต้องเรียนทีละน้อยตามลำดับขั้นที่พอเหมาะกับความสนใจและความสามารถของผู้เรียนโดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลเป็นสำคัญ จะทำให้ประสบความสำเร็จในการเรียน และเกิดการเรียนรู้ที่มั่นคงถาวรขึ้น
การจูงใจ (Motivation)

หลักการและแนวคิดที่สำคัญของการจูงใจ คือ
1. การจูงใจเป็นเครื่องมือสำคัญที่ผลักดันให้บุคคลปฏิบัติ กระตือรือร้น และปรารถนาที่จะร่วมกิจกรรมต่าง ๆ เพราะการตอบสนองใด ๆ จะเป็นผลเพื่อลดความตึงเครียดของบุคคล ที่มีต่อความต้องการนั้นๆ ดังนั้นคนเราจึงดิ้นรนเพื่อให้ได้ตามความต้องการที่เกิดขึ้นต่อเนื่อง กิจกรรมการเรียนการสอนจึงต้องอาศัยการจูงใจ
2. ความต้องการทางกาย อารมณ์ และสังคม เป็นแรงจูงใจที่สำคัญต่อกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน ผู้สอนจึงควรหาทางเสริมแรงหรือกระตุ้นโดยปรับกิจกรรมการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับความต้องการเหล่านั้น
3. การเลือกสื่อและกิจกรรมการเรียนการสอน ให้เหมาะสมกับ ความสนใจ ความสามารถและความพึงพอใจแก่ผู้เรียนจะเป็นกุญแจสำคัญให้การจัดกระบวนการเรียนรู้ประสบความสำเร็จได้ง่าย มีแรงจูงใจสูงขึ้น และมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนเพิ่มขึ้น
4. การจูงใจผู้เรียนให้มีความตั้งใจ และสนใจในการเรียน ย่อมขึ้นอยู่กับบุคลิกภาพของผู้เรียนแต่ละคน ซึ่งผู้สอนจะต้องทำความเข้าใจลักษณะความต้องการของผู้เรียนแต่ละระดับ แต่ละสังคม แต่ละครอบครัว แล้วจึงพิจารณากิจกรรมการเรียนที่จะจัดให้สอดคล้องกัน
5. ผู้สอนควรจะพิจารณาสิ่งล่อใจหรือรางวัล รวมทั้งกิจกรรมการแข่งขัน ให้รอบคอบและเหมาะสมเพราะเป็นแรงจูงใจที่มีพลังรวดเร็ว ซึ่งให้ผลทั้งทางด้านเสริม สร้างและการทำลายก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสถานการณ์และวิธีการ

2. ทฤษฎีสนามความรู้ (Cognitive Field Theory)
ทฤษฎีการจูงใจ ได้อธิบายเกี่ยวกับสภาวะของบุคคล ที่พร้อม ที่จะสนองความต้องการหากสิ่งนั้นมี อิทธิพลสำหรับความต้องการของเขา ทฤษฎีการจูงใจที่สำคัญคือ ทฤษฎีความต้องการของมาสโลว์ (Maslow`s Theory) ซึ่งอธิบายความต้องการของบุคคลว่า พฤติกรรมต่างๆ ของบุคคล ล้วนเป็นสิ่งแสดงให้เห็นถึงความพยายามหาวิธีการสนองความต้องการให้กับตนเองทั้งสิ้น และคนเรามีความต้องการหลายด้าน ซึ่งมาสโลว์ ได้จำแนกความต้องการของคนไว้ดังนี้ คือ
1. ความต้องการทางกาย ได้แก่ ความต้องการปัจจัยที่จำเป็นพื้นฐาน สำหรับการดำรงชีวิต อันได้แก่ อาหาร น้ำ และ อากาศ
2. ความต้องการความปลอดภัย เช่น ต้องการความสะดวกสบาย การคุ้มครอง
3 .ความต้องการความรัก และความเป็นเจ้าของ เช่น ต้องการเป็นที่รักของบุคคลอื่น
4. ความต้องการให้ผู้อื่นเห็นคุณค่าของตนเช่นการยอมรับและยกย่องจากสังคม
5 .ความต้องการเข้าใจตนเอง คือความเข้าใจสภาวะของตน เช่น ความสามารถ ความถนัด ซึ่งสามารถเลือกงาน เลือกอาชีพที่เหมาะกับตนเอง
6. ความต้องการที่จะรู้และเข้าใจ คือ พยายามที่จะศึกษาหาความรู้และการแสวงหาสิ่งที่มีความหมายต่อชีวิต
7.ความต้องการด้านสุนทรียะ คือความต้องการในด้านการจรรโลงใจดนตรี ความสวยงาม และงานศิลปะต่าง ๆ

มาสโลว์ ได้อธิบายให้เห็นเพิ่มเติมว่า ความต้องการของคนเราตั้งแต่ลำดับที่ 1-4 นั้นเป็นความต้องการที่จำเป็น ซึ่งคนเราจะขาดไม่ได้และทุกคนจะพยายามแสวงหาเพื่อสนองความต้องการนั้น ๆ ส่วนลำดับความต้องการที่ 5-7 เป็นแรงจูงใจที่มากระตุ้นให้บุคคลแสวงหาต่อ ๆไป เมื่อสามารถสนองความต้องการพื้นฐานได้ สำเร็จเป็นลำดับแล้ว
การแข่งขัน (Competition)
จะมีคุณค่าในด้านการจูงใจ ถ้าหากรู้จักนำไปใช้ให้เหมาะสมจะเกิดผลดีทางการเรียน แต่ถ้าใช้ไม่ถูกต้องจะเกิดผลเสียทางอารมณ์ของผู้เรียน เบอร์นาร์ด (Bernard) ได้ให้ความเห็นว่าควรจะเป็นการแข่งขันกับตนเอง ในการพัฒนาผลงานใหม่ๆ กับที่เคยทำมาแล้ว ถ้าหากเป็นเกมการแข่งขันระหว่างผู้เรียนควรจะเน้นย้ำการรักษากติกา การยอมรับและมีน้ำใจเป็นนักกีฬา ให้ผู้เรียนเข้าจุดมุ่งหมายเพื่อผลสัมฤทธิ์ มากกว่าชัยชนะ

การถ่ายโยงการเรียนรู้ (Transfer of learning)
1. ธอร์นไดค์ (Thorndike) กล่าวถึง การถ่ายโยงการเรียนรู้จากสถานการณ์หนึ่งไปสู่อีกสถานการณ์หนึ่งนั้น สถานการณ์ทั้งสองจะต้องมีองค์ประกอบที่คล้าย คลึงกัน คือ เนื้อหา วิธีการ และ เจตคติ ที่สัมพันธ์กันกับสถานการณ์เดิม
2.เกสตัลท์ (Gestalt) กล่าวว่า การถ่ายโยงการเรียนรู้จะเกิดขึ้นเมื่อผู้เรียนได้มองเห็นรูปร่างทั้งหมดของปัญหา และรับรู้ความสัมพันธ์นั้นเข้าไป กล่าวคือ สถานการณ์ใหม่จะต้องสัมพันธ์กับสถานการณ์เดิม

หลักการและแนวคิดที่สำคัญของการถ่ายโยงการเรียนรู้คือ
1. การถ่ายโยง ควรจะต้องปลูกฝังความรู้ ความคิด เกี่ยวกับกฎเกณฑ์ต่างๆ เป็นพื้นฐานที่สามารถนำไปใช้ในสถานการณ์ที่คล้ายคลึงกัน
2. ผู้สอนควรใช้วิธีการแก้ปัญหา หรือวิธีการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนมีโอกาสคิดและเกิดทักษะอย่างกว้างขวางซึ่งจะเป็นวิธีการที่ช่วยให้เห็นความสัมพันธ์ของความรู้
3. การถ่ายโยงจะเกี่ยวข้องกับ ความแตกต่างระหว่างบุคคล กิจกรรมการเรียนการสอนจึงต้องคำนึงหลักการนี้ด้วย
4. การถ่ายโยงที่อาศัยสถานการณ์ที่สัมพันธ์กันระหว่างสถานการณ์เดิมและสถานการณ์ใหม่ จะช่วยให้เกิดการเรียนรู้สะดวกขึ้น
สรุป การเรียนที่ผู้เรียนได้รับมาจากการที่ผู้สอน อธิบายสิ่งที่จะต้องเรียนรู้ให้ทราบและผู้เรียนรับฟังด้วยความเข้าใจ โดยผู้เรียนเห็นความสัมพันธ์ของสิ่งที่เรียนรู้กับโครงสร้างพุทธิปัญญาที่ได้เก็บไว้ในความทรงจำ และจะสามารถนำมาใช้ในอนาคต



3.นวัตกรรม คืออะไร
นวัตกรรม เป็นคำใหม่ในการศึกษาไทย เป็นศัพท์บัญญัติทางการศึกษา เดิมใช้คำว่า นวกรรม เป็นคำที่มาจากภาษาอังกฤษว่า Innovation เป็นคำมาจากภาษาลาตินว่า Innovare
คำว่า Innovate แปลได้ว่า “ ทำใหม่, เปลี่ยนแปลงโดยนำสิ่งใหม่ๆเข้ามา ” คำว่า Innovation อาจจะแปลว่า “ การทำสิ่งใหม่ๆ, สิ่งใหม่ที่ทำขึ้นมา ” เดิมมีผู้บัญญัติศัพท์ นวกรรม ขึ้นมา เป็นคำบาลี สันสกฤต นว ( = ใหม่ ) + กรรม ( = การทำ, สิ่งที่ทำ ) รวมความแล้วแปลได้ว่า “ การทำใหม่, สิ่งที่ทำใหม่ ” ในภาษาบาลีมีคำว่า นวกมฺม อยู่แล้ว แปลว่า “ การก่อสร้าง, การซ่อมแซม, การสร้างใหม่ ” และภาษาสันสฤตมีคำว่า นวการฺมิก แปลว่า “ ผู้คุมงานก่อสร้าง, ช่างก่อสร้าง ”
ศัพท์บัญญัติวิชาการศึกษา คำว่า “ นวัตกรรม ” หมายถึง “ การนำสิ่งใหม่ๆ เข้ามาเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมวิธีการที่ทำอยู่เดิม เพื่อให้ได้ใช้ผลดียิ่งขึ้น ” ไม่ว่ากิจการใดๆก็ตามเมื่อมีการนำเอาความเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ เข้ามาใช้เพื่อปรับปรุงงานให้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิมหรือให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
ทอมัส ฮิวซ์ ( Thomas Hughes ) ให้ความหมาย นวัตกรรม ว่า เป็นการนำวิธีการใหม่ๆ มาปฏิบัติหลังจากได้ผ่านการทดลองหรือได้รับการพัฒนามาเป็นขั้นๆแล้ว โดยเริ่มมาตั้งแต่การคิดค้น(Invention) การพัฒนา(Developmant) ซึ่งอาจเป็นไปในรูปของโครงการทดลองปฏิบัติก่อน(Pilot Project) แล้วจึงนำไปปฏิบัติจริงซึ่งมีความแตกต่างไปจากการปฏิบัติเดิมที่เคยปฏิบัติมา
มอร์ตัน ( Morton, J.A. ) ได้กล่าวในหนังสือ Organizing for innovation ว่า นวัตกรรม หมายถึง การทำให้ใหม่ขึ้นอีกครั้ง ซึ่งหมายถึง การปรับปรุงของเก่าและพัฒนาศักยภาพของบุคลากร ตลอดจนหน่วยงานหรือองค์กรนั้นๆ นวัตกรรม ไม่ใช่การขจัดหรือล้มล้างสิ่งเก่าให้หมดไป แต่เป็นการปรับปรุงเสริมแต่งและพัฒนาเพื่อความอยู่รอดของระบบ
ไชยยศ เรืองสุวรรณ ได้ให้ความหมาย นวัตกรรม ไว้ว่า หมายถึง วิธีการปฏิบัติใหม่ๆ ที่แปลกไปจากเดิมโดยอาจจะได้มาจากการคิดค้นพบวิธีการใหม่ๆ ขึ้นมาหรือมีการปรับปรุงของเก่าให้เหมาะสมและสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ได้รับการทดลอง พัฒนา จนเป็นที่เชื่อถือได้แล้วว่าได้ผลดีในทางปฏิบัติทำให้ระบบก้าวไปสู่จุดหมายปลายทางได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
จรูญ วงศ์สายัณห์ ได้กล่าวถึงความหมายของ นวัตกรรม ไว้ว่าแม้ในภาษาเอง ความหมายก็ต่างกันเป็น 2 ระดับ โดยทั่วไป นวัตกรรม หมายถึง ความพยายามใดๆ จะเป็นผลสำเร็จหรือไม่ มากน้อยเพียงใดก็ตามที่เป็นไปเพื่อนจะนำสิ่งใหม่ๆ เข้ามาเปลี่ยนแปลงวิธีการที่ทำอยู่เดิมแล้ว กับอีกระดับหนึ่ง ซึ่งวงการวิทยาศาสตร์แห่งพฤติกรรมได้พยายามศึกษาถึงที่มา ลักษณะ กรรมวิธี และผลกระทบที่มีอยู่ต่อกลุ่มคนที่เกี่ยวข้อง คำว่า นวัตกรรม มักจะหมายถึงสิ่งที่ได้นำความเปลี่ยนแปลงใหม่เข้ามาใช้ได้ผลสำเร็จและแผ่กว้างออกไป จนกลายเป็นการปฏิบัติอย่างธรรมดาสามัญ เช่น การปลูกฝีในวงการแพทย์ การทำเหล็กกล้าในวงการอุตสาหกรรม เป็นต้น
สรุป นวัตกรรม คือ ความคิดหรือการกระทำใหม่ๆที่นำมาใช้ในการแก้ปัญหาในด้านต่างๆ
4. นวัตกรรมทางการศึกษา คืออะไร
นวัตกรรมทางการศึกษา(Educational Innovation) หมายถึง การนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำ รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษาเพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วเกิดแรงจูงใจในการเรียนและช่วยให้ประหยัดเวลาในการเรียน เช่น การสอน ใช้คอมพิวเตอร์ช่วย การใช้วิดิทัศน์เชิงโต้ตอบ(Interactive Video)
สื่อหลายมิติ (Hypermedia) และอินเตอร์เน็ต เหล่านี้เป็นต้น
นวัตกรรม แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ
ระยะที่ 1 มีการประดิษฐ์คิดค้น (Innovation) หรือเป็นการปรุงแต่งของเก่าให้เหมาะสมกับกาลสมัย
ระยะที่ 2 พัฒนาการ (Development) มีการทดลองในแหล่งทดลองจัดทำอยู่ในลักษณะของโครงการทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot Project)
ระยะที่ 3 การนำเอาไปปฏิบัติในสถานการณ์ทั่วไป ซึ่งจัดว่าเป็นนวัตกรรมขั้นสมบูรณ์
ประเภทนวัตกรรมทางการศึกษา ตามลักษณะผู้ใช้ประโยชน์จำแนกได้ดังนี้
ประเภทนวัตกรรม/สื่อสำหรับครู ประเภทนวัตกรรม/สื่อสำหรับนักเรียน
- คู่มือครู
- เอกสารประกอบการสอน
- ชุดการการสอน
- สื่อประสมชนิดต่างๆ
- หนังสืออ้างอิง
- เครื่องมือวัดผลประเมินผล
- อุปกรณ์โสตทัศนวัสดุ
- โครงการ
- วิจัยในชั้นเรียน
- การศึกษาผู้เรียนเป็นรายบุคคล
- วิธีสอนแบบต่างๆ
ฯลฯ - บทเรียนสำเร็จรูป
- เอกสารประกอบการเรียน
- ชุดฝึกปฏิบัติ
- ใบงาน
- หนังสือเสริมประสบการณ์
- ชุดเพลง
- ชุดเกม
- โครงงาน
ฯลฯ
สรุป นวัตกรรมทางการศึกษา คือ ความคิดและวิธีการปฏิบัติใหม่ ๆ ที่ส่งเสริมให้ กระบวนการทางการศึกษามีประสิทธิภาพสูงขึ้น

5.เทคโนโลยี คืออะไร
คำว่า เทคโนโลยี ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า "Technology" ซึ่งมาจากภาษากรีกว่า "Technologia" แปลว่า การกระทำที่มีระบบ อย่างไรก็ตามคำว่า เทคโนโลยี มักนิยมใช้ควบคู่กับคำว่า วิทยาศาสตร์ โดยเรียกรวม ๆ ว่า "วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี"
พจนานุกรมฉบับ ราชบัณฑิตยสถาน (2539 : 406) ได้ให้ความหมายของเทคโนโลยี คือ วิทยาการที่เกี่ยวกับศิลปะในการนำเอาวิทยาศาสตร์ประยุกต์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติและอุตสาหกรรม
นอกจากนั้นยังมีผู้ให้ความหมายของเทคโนโลยีไว้หลากหลาย ดังนี้ คือ
ผดุงยศ ดวงมาลา (2523 : 16) ได้ให้ความหมายของเทคโนโลยีว่าปัจจุบันมีความหมายกว้างกว่ารากศัพท์เดิม คือ หมายถึงกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับเครื่องจักรกล สิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ทาง อุตสาหกรรม ถ้าในแง่ของความรู้ เทคโนโลยีจะหมายถึง ความรู้หรือศาสตร์ที่เกี่ยวกับเทคนิคการผลิตในอุตสาหกรรม และกิจกรรมอื่น ๆ ที่จะเอื้ออำนวยต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ หรืออาจสรุปว่า เทคโนโลยี คือ ความรู้ที่มนุษย์ใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ให้เกิดประโยชน์แก่มนุษย์เอง ทั้งในแง่ความเป็นอยู่และการควบคุมสิ่งแวดล้อม
สิปปนนท์ เกตุทัต (ม.ป.ป. 81) อธิบายว่า เทคโนโลยี คือ การนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และศาสตร์อื่น ๆ มาผสมผสานประยุกต์ เพื่อสนองเป้าหมายเฉพาะตามความต้องการของมนุษย์ด้วยการนำทรัพยากรต่าง ๆ มาใช้ในการผลิตและจำหน่ายให้ต่อเนื่องตลอดทั้งกระบวนการ เทคโนโลยีจึงมักจะมีคุณประโยชน์และเหมาะสมเฉพาะเวลาและสถานที่ และหากเทคโนโลยีนั้นสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม การเมือง วัฒนธรรม และสภาพแวดล้อม เทคโนโลยีนั้นจะเกื้อกูลเป็นประโยชน์ทั้งต่อบุคคลและส่วนรวม หากไม่สอดคล้องเทคโนโลยี นั้น ๆ จะก่อให้เกิดปัญหาตามมามหาศาล
ธรรมนูญ โรจนะบุรานนท์ (2531 : 170) กล่าวว่า เทคโนโลยี คือ ความรู้วิชาการรวมกับความรู้วิธีการ และความชำนาญที่สามารถนำไปปฏิบัติภารกิจให้มีประสิทธิภาพสูง โดยปกติเทคโนโลยีนั้นมีความรู้วิทยาศาสตร์รวมอยู่ด้วย นั้นคือวิทยาศาสตร์เป็นความรู้ เทคโนโลยีเป็นการนำความรู้ไปใช้ในทางปฏิบัติ จึงมักนิยมใช้สองคำด้วยกัน คือ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อเน้นให้เข้าใจว่า ทั้งสองอย่างนี้ต้องควบคู่กันไปจึงจะมีประสิทธิภาพสูง
ส่วน ชำนาญ เชาวกีรติพงศ์ (2534 : 5) ได้ให้ความหมายสั้น ๆ ว่า เทคโนโลยี หมายถึง วิชาที่ว่าด้วยการประกอบวัตถุเป็นอุตสาหกรรม หรือวิชาช่างอุตสาหกรรม หรือการนำเอาวิทยาศาสตร์มาใช้ในทางปฏิบัติ
จากการที่มีผู้ให้ความหมายของเทคโนโลยีไว้หลากหลาย สรุปได้ว่า เทคโนโลยี หมายถึง วิชาที่นำเอาวิทยาการทางวิทยาศาสตร์และศาสตร์อื่น ๆ มาประยุกต์ใช้ตามความต้องการของมนุษย์ เช่น โรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงกล่าวถึงความหมายของเทคโนโลยีเป็นภาษาง่าย ๆ ว่า หมายถึง การรู้จักนำมาทำให้เป็นประโยชน์นั่นเอง (เย็นใจ เลาหวณิช. 2530 : 67)
สรุป เทคโนโลยี คือ ความรู้เกี่ยวกับศาสตร์หรือการศึกษาเกี่ยวกับประสบการณ์ที่ต้องการศึกษากำหนดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ การจัดการการประเมิน ผ่านการสื่อสารที่เอื้อต่อโครงสร้างพื้นฐานและความพร้อมของผู้เรียน

6.เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึงอะไร
คำว่า "เทคโนโลยีสารสนเทศ" (Information Technology)ตรงกับคำศัพท์ที่ว่า Informatique หมายถึง การนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีอื่นๆ มาใช้ในงานที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจและสังคม นอกจากนี้ยังมีความหมายที่ใกล้เคียงกันคือ Telematioque หมายถึง การบูรณาการระหว่างคอมพิวเตอร์กับการสื่อสาร และคำว่า Burotique หมายถึง สำนักงานอัตโนมัติ ดังนั้นเมื่อมีการนำคำศัพท์ภาษาอังกฤษทั้งสองคำมาใช้แทนคำว่าเทคโนโลยีสารสนเทศ จึงได้คำว่า Informatic ซึ่งมีความหมายเช่นเดียวกันกับInformatique แต่คำเหล่านี้ไม่เป็นที่นิยมมากนัก ในสหรัฐอเมริกาก็ได้มีการบัญญัติคำศัพท์ว่า Teleputer ขึ้นมาใช้แต่ก็ไม่เป็นที่นิยมเช่นกัน
คำว่า "สารสนเทศ" หรือ "สารนิเทศ" ตรงกับคำศัพท์ภาษาอังกฤษว่า Information ซึ่งราชบัณฑิตยสถานบัญญัติให้ใช้คำศัพท์ทั้งสองคำแทนคำว่า Information ได้ในวงการคอมพิวเตอร์การสื่อสาร และวงการธุรกิจ ส่วนใหญ่นิยมใช้คำว่าสารสนเทศมากกว่า
สารนิเทศ หมายถึง ข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ต่าง ๆ ที่มีการบันทึกอย่างเป็นระบบตามหลักวิชาการเพื่อนำมาเผยแพร่และใช้งานทุกสาขาทุกด้าน
ส่วนคำว่า "เทคโนโลยีสารสนเทศ" (Imformation Technology:IT) เรียกสั้นๆว่า "ไอที" มีความหมายเน้นถึงขั้นตอนการดำเนินงานและการจัดการในกระบวนการสารสนเทศหรือสารนิเทศ ตั้งแต่การเสาะแสวงหาการวิเคราะห์ การจัดเก็บ การจัดการ และการเผยแพร่ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ความถูกต้อง ความแม่นยำ และความรวดเร็วทันต่อการนำมาใช้ประโยชน์
บีแฮน และโฮลัมส์ ให้ความหมายไว้ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง เทคโนโลยีที่ทำให้มนุษย์สามารถสร้างระบบสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ จนทำให้เกิดประสิทธิผลและประโยชน์อย่างมหาศาล ได้แก่ การใช้ทำเบียนข้อมูล การจัดเก็บ การประมวลผลการค้นคืน การส่งและรับสารสานเทศต่าง ๆ ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ต่าง ๆ เช่น คอมพิวเตอร์ โทรสาร โทรคมนาคม และไมโครอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งเทคโนโลยีเดิมที่ใช้ในระบบจัดเรียงเอกสาร เครื่องทำบัญชีอัตโนมัติ เป็นต้น
มหาวิทยาลัยสุโยทัยธรรมาธิราช ให้ความหมายว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง เทคโนโลยีทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับสารสนเทศ มาจากเทคโนโลยีเดิมที่ใช้ในการจัดเก็บ ประมวลผล แสดงผล และเผยแพร่สารสนเทศในรูปของข้อมูล ข้อความและเรื่อง โดยใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีโทรคมนาคม
สรุป เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่ทำให้เกิดวิธีการใหม่ ๆ ในการจัดเก็บข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ การส่งผ่าน การสื่อสารสารสนเทศ การเข้าถึงสารสนเทศ การรับสารสนเทศ รวมถึงการสร้างสังคมและอุตสาหกรรมด้านสารสเทศ และการจัดการสารสนเทศให้มีประสิทธิภาพ

7.เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่มีบทบาทในการศึกษามีอะไรบ้าง และแต่ละอย่างเป็นย่างไร
เทคโนโลยีสารสนเทศที่นำมาใช้ในการศึกษา
1.เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม คือ เทคโนโลยีเกี่ยวกับการสื่อสารทางไกล โดยผ่านกระบวนการสื่อสารคมนาคมต่างๆ ได้แก่ โทรศัพท์ โทรเลข การสื่อสารผ่านระบบไมโครเวฟ การสื่อสารผ่านเส้นใยนำแสง การสื่อสารผ่านดาวเทียม วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ก็เป็นเทคโนโลยีคมนาคม เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคมนี้จะทำให้เกิดเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ทำให้คอมพิวเตอร์เชื่อมโยงกัน ทำให้สามารถทำงานร่วมกัน แลกเปลี่ยนข้อมูลรวมทั้งการส่งข้อมูลที่หนึ่งไปสู่ที่หนึ่งได้โดยรวดเร็ว
วิทยุกระจายเสียงหรือระบบวิทยุโรงเรียนที่ออกอากาศในปัจจุบันโดยกระทรวงศึกษาธิการ มีจุดประสงค์เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนรู้ทั้งในระบบและนอกระบบได้รับการศึกษาได้อย่างทั่วถึง เนื่องจากวิทยุเป็นเครื่องมือทางอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถแพร่กระจายข่าวสารวิชาการต่างๆได้อย่างรวดเร็ว เข้าถึงได้มากที่สุด และไกลที่สุด
โทรทัศน์เพื่อการศึกษา ในขณะที่การสื่อสารเจริญก้าวหน้าอย่างมาก ระบบโทรศัพท์ก็ได้เข้ามามีบทบาทแทนที่ระบบวิทยุควบคุมเกือบทั้งประเทศ ประกอบกับผู้ชมสนใจและมีความต้องการมากกว่า เนื่องจากมีทั้งภาพและเสียง รัฐบาลมองเห็นความสำคัญในการพัฒนาเทคโนโลยีด้านนี้มากจึงจัดให้ใช้ช่อง NBT เป็นช่องเพื่อการศึกษาและสารคดี และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มในช่อง UHF อีกด้วย ย่อมแสดงให้เห็นว่าควรส่งเสริมระบบโทรทัศน์ทางการศึกษาให้มากขึ้น มหาวิทยาลัยเปิด เช่น มหาวิทยาลัยรามคำแหงหรือมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ก็ใช้ระบบโทรทัศน์เพื่อการศึกษา และใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยที่สุดในระบบการเรียนการสอน คือการศึกษานอกโรงเรียน(กศน.) ที่ใช้ดาวเทียมไทยคมส่งภาพจากศูนย์กลางไปยังหน่วยการศึกษาต่างๆทั่วประเทศของกศน. เพื่อให้การเรียนการสอนสมบูรณ์ในรูปแบบสื่อประสม ซึ่งนับได้ว่าการนำระบบนี้มาใช้จะช่วยให้การศึกษาเข้าถึงประชาชนได้อย่างรวดเร็วและทั่วถึงมากขึ้น
2.เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ คือ ชุดเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ถูกสร้างขึ้นให้ทำหน้าที่ในการรับข้อมูล ประมวลผลข้อมูลและนำเสนอข้อมูลตามที่ผู้ใช้ต้องการ โดยทั่วไปคอมพิวเตอร์มีคุณสมบัติหลัก 5 ประการคือ
2.1 รับคำสั่งเข้าและส่งผลออก
2.2 คำนวณ
2.3 เปรียบเทียบ
2.4 มีหน่วยความจำได้มาก สามารถดึงข้อมูลได้ทั้งหมดหรือบางส่วนมาใช้ได้
2.5 มีความรวดเร็ว
3.เทคโนโลยีเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยอาศัยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม ทำให้สามารถเชื่อมโยงการทางานคอมพิวเตอร์ร่วมกันได้ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบ่งเป็นประเภทใหญ่ๆได้แก่
3.1เครือข่ายเฉพาะที่ หรือเครือข่ายท้องถิ่น หรือเครือข่ายะยะไกล(Local Area Network-LAN) เป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์ไม่มากนักมักอยู่ในอาคารหลังเดียวหรืออาคารละแวกเดียวกันเท่านั้น
3.2เครือข่ายบริเวณกว้าง(Wide Area Network-WAN) เป็นเครือข่ายที่มีคอมพิวเตอร์กระจายกว้างวางทั่วประเทศ ระบบนี้ช่วยให้สำนักงานในจังหวัดติดต่อสื่อสารและทำงานร่วมกับสำนักงานใหญ่ที่อยู่ในเมืองหลวงได้ ระบบนี้เป็นที่นิยมได้แก่ ระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
4. ระบบสำนักงานอัตโนมัติ เป็นแนวคิดที่นำระบบเครือข่ายใช้เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์สำนักงานใหญ่ เช่น ระบบไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) ระบบประชุมทางไกล
5. เทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นระบบประมวลผลข้อมูลในลักษณะต่างๆ เพื่อช่วยในการจัดการและบริหารงาน
6. ระบบมัลติมีเดีย เป็นเทคโนโลยีที่ผสมผสานภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียง และข้อความเข้าด้วยกัน โดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์ช่วยในการแสดงผล นำไปประยุกต์ใช้ในการสอน เช่นคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
สรุป เทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทต่อการศึกษาอย่างมาก โดยเฉพาะเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์และการสื่อสารโทรคมนาคมมีบทบาทที่สำคัญต่อการพัฒนาการศึกษา ซึ่งเทคโนโลยีเป็นเครื่องมือในการดำเนินงานสารสนเทศให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ นับตั้งแต่การผลิต การจัดเก็บ การประมวลผล การเรียกใช้ การสื่อสารสารสนเทศ การแลกเปลี่ยนและใช้ทรัพยากรสารสนเทศร่วมกันให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่

8.สื่อการสอนคืออะไร
นักวิชาการในวงการเทคโนโลยีทางการศึกษา โสตทัศนศึกษา และวงการการศึกษา ได้ให้คำจำกัดความของ “สื่อการสอน” ไว้อย่างหลากหลาย ดังเช่น
ชอร์ส กล่าวว่า เครื่องมือที่ช่วยสื่อความหมายจัดขึ้นโดยครูและนักเรียน เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ เครื่องมือการสอนทุกชนิดจัดเป็นสื่อการสอน เช่น หนังสือในห้องสมุด โสตทัศนวัสดุต่าง ๆ เช่น โทรทัศน์ วิทยุ สไลด์ ฟิล์มสตริป รูปภาพ แผนที่ ของจริง และทรัพยากรจากแหล่งชุมชน
บราวน์ และคณะ กล่าวว่า จำพวกอุปกรณ์ทั้งหลายที่สามารถช่วยเสนอความรู้ให้แก่ผู้เรียนจนเกิดผลการเรียนที่ดี ทั้งนี้รวมถึง กิจกรรมต่าง ๆ ที่ไม่เฉพาะแต่สิ่งที่เป็นวัตถุหรือเครื่องมือเท่านั้น เช่น การศึกษานอกสถานที่ การแสดง บทบาทนาฏการ การสาธิต การทดลอง ตลอดจนการสัมภาษณ์และการสำรวจ เป็นต้น
เปรื่อง กุมุท กล่าวว่า สื่อการสอน หมายถึงสิ่งต่าง ๆ ที่ใช้เป็นเครื่องมือหรือช่องทางสำหรับทำให้การสอนของครูถึงผู้เรียนและทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์หรือจุดมุ่งหมายที่ครูวางไว้ได้เป็นอย่างดี
ชัยยงค์ พรหมวงศ์ ให้ความหมาย สื่อการสอนว่า วัสดุอุปกรณ์และวิธีการประกอบการสอนเพื่อใช้เป็นสื่อกลางในการสื่อความหมายที่ผู้สอนประสงค์จะส่ง หรือถ่ายทอดไปยังผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
วาสนา ชาวหา ให้ความหมายว่า การเรียนการสอนเป็นระบบหนึ่งในระบบการศึกษา ซึ่งต้องอาศัยสื่อการเรียนการสอนเป็นตัวกลางหรือสะพานเชื่อมโยง เพื่อให้ความรู้ไปสู่ผู้เรียนได้ ดังนั้น อาจกล่าวได้ว่า สื่อการเรียนการสอนเป็นปัจจัยสำคัญในกระบวนการเรียนการสอน ผู้สอนจะต้องใช้สื่อเพื่อนำความรู้ไปสู่ผู้เรียน และผู้เรียนก็ต้องใช้สื่อเพื่อการเรียนรู้ ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่ทำหน้าที่สอนหรือผู้ที่ต้องการเรียนรู้ในเรื่องใด ๆ ก็ตาม สิ่งที่ขาดไม่ได้ก็คือ "สื่อการเรียนการสอน" นั่นเอง
สรุป สื่อการสอน หมายถึง วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ ซึ่งถูกนำมาใช้ในการการเรียนการสอน เพื่อเป็นตัวกลางในการนำส่งหรือถ่ายทอดความรู้ ทักษะ และเจตคติ จากผู้สอนหรือแหล่งความรู้ไปยังผู้เรียน ช่วยให้การเรียนการสอนดำเนินไปอย่างสะดวกและมีประสิทธิภาพ และทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอนที่ตั้งไว้
9.สื่อประสมคืออะไร
การบรรจบกันของเทคโนโลยีระบบแอนะล็อกและดิจิทัลในปัจจุบันทำให้ความหมายของสื่อประสม (multimedia) สามารถอธิบายได้เป็น 2 ลักษณะ โดยเป็นความหมายของสื่อประสมแบบดั้งเดิมและสื่อประสมแบบใหม่ที่มีการใช้คอมพิวเตอร์เป็นสื่อกลาง ดังนี้
สื่อประสมแบบดั้งเดิม หมายถึง การนำสื่อหลายประเภทมาใช้ร่วมกันทั้งวัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดในการเรียนการสอน โดยใช้สื่อแต่ละอย่างตามลำดับขั้นตอนของการนำเสนอเนื้อหา
สื่อประสมแบบใหม่ หมายถึง การนำเสนอข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ในรูปแบบตัวอักขระภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียง และการมีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบ “multimedia” ในลักษณะสื่อประสมแบบใหม่จึงใช้อีกอย่างหนึ่งได้ว่า “computer media”
การใช้คำ “multimedia” ได้เริ่มมีขึ้นในระหว่างช่วงทศวรรษ 1950S เพื่อระบุถึงการใช้ร่วมกันของสื่อในลักษณะที่นิ่งและเคลื่อนไหว เพื่อเป็นการสร้างเสริมประสิทธิภาพทางการศึกษา
สรุป สื่อประสม (multimedia) คือ การใช้สื่อหลายแบบผสมกัน ซึ่งมีทั้งที่ เป็นข้อความ ตัวหนังสือ รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว เสียงพูด เสียงดนตรี และวีดิทัศน์


10.รูปแบบการสื่อสารมิติในการเรียนการสอนประกอบด้วยอะไรบ้าง
จากความหมายของสื่อประสมที่กล่าวมาแล้วจะเห็นได้ว่า สื่อประสมที่นิยมกันในปัจจุบันจะใช้คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์หลักโดยการใช้ซอฟต์แวร์โปรแกรมสร้างสื่อประสมในการเสนอสารสนเทศในรูปแบบรวมของข้อความ ภาพกราฟิก และเสียง โดยที่เนื้อหาของข้อมูลสารสนเทศจะต้องได้รับการปรับรูปแบบก่อนนำมาใช้ในโปรแกรมโดยแบ่งได้ดังนี้
ข้อความ
เนื้อหาข้อมูลในลักษณะข้อความจะเป็นตัวอักขระที่พิมพ์ด้วยโปรแกรมประมวลคำเช่น Microsoft Word ในรูปของประโยคและย่อหน้าของเนื้อหา หรือพิมพ์ข้อความลงบนสไลด์ของ PowerPoint โดยสามารถปรับแต่งตัวอักษร สี และลักษณะพิเศษต่างๆ ของข้อความได้ เช่น ตัวหนา ตัวเอน ตัวขีดเส้นใต้ ฯลฯ เพื่อเน้นข้อความ
ภาพกราฟิก
ภาพกราฟิก หมายถึง ภาพถ่าย ภาพเขียน ภาพวาดลายเส้น และภาพลักษณะต่างๆที่เป็นภาพนิ่ง หรือแม้แต่ข้อความที่พิมพ์ด้วยโปรแกรมกราฟิกเพื่อตกแต่งให้สวยงามจะถูกแปลงเป็นภาพกราฟิกเช่นเดียวกัน ภาพกราฟิกนับว่าเป็นสิ่งสำคัญในสื่อประสมเนื่องจากเป็นสิ่งดึงดูดสายตาและความสนใจของผู้ชม สามารถสร้างความคิดรวบยอดได้ดีกว่าการใช้ข้อความ และใช้เป็นจุดต่อประสานในการเชื่อมโยงหลายมิติได้อย่างน่าสนใจ ภาพกราฟิกที่ใช้ในสื่อประสมนิยมใช้กันมาก 2 รูปแบบ คือ
ภาพกราฟิกแบบบิตแม็ป (bitmap graphics) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า raster graphics เป็นกราฟิกที่สร้างขึ้นโดยการใช้ตารางจุดภาพ (grid of pixels) จึงทำไห้เห็นเป็นตารางสี่เหลี่ยมเมื่อขยายภาพ ในการวาดภาพกราฟิกแบบบิตแม็ปจะเป็นการสร้างกลุ่มของจุดภาพแทนที่จะเป็นการวาดรูปทรงของวัตถุเพื่อเป็นภาพขึ้นมา การแก้ไขหรือปรับแต่งภาพจึงเป็นการแก้ไขครั้งละจุดภาพได้เพื่อความละเอียดในการทำงาน ข้อได้เปรียบประการหนึ่งของกราฟิกแบบนี้ คือ สามารถแสดงการไล่เฉดสีและเงาอย่างต่อเนื่องจึงเหมาะสำหรับตกแต่งภาพถ่ายและงานศิลป์ต่างๆ ได้อย่างสวยงาม แต่ภาพแบบบิตแม็ปมีข้อจำกัดอย่างหนึ่งคือ จะเห็นเป็นรอยหยักเมื่อขยายภาพใหญ่ขึ้นภาพกราฟิกแบบนี้จะมีชื่อลงท้ายด้วย .gif, .tiff, .bmp
ภาพกราฟิกแบบเวกเตอร์ (vector graphics) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า braw graphics เป็นกราฟิกเส้นสมมติที่สร้างขึ้นจากรูปทรงโดยขึ้นอยู่กับสูตรคณิตศาสตร์ ภาพกราฟิกแบบนี้จะเป็นเส้นเรียบนุ่มนวลและมีความคมชัดหากขยายใหญ่ขึ้น จึงเหมะสำหรับงานประเภทที่ต้องการเปลี่ยนแปลงขนาดภาพเพื่อเหมาะกับการใช้งาน เช่น ภาพวาดลายเส้น การสร้างตัวอักษรและออกแบบตราสัญลักษณ์ ภาพกราฟิกแบบนี้จะมีชื่อลงท้ายด้วย .eps, .wmf, .pict
ภาพแอนิเมชัน
ภาพแอนิเมชัน (animation) เป็นภาพกราฟิกเคลื่อนไหวโดยใช้ animation program ในการสร้าง เราสามารถใช้ภาพที่วาดจาก paint programs, draw programs หรือภาพจาก clip art มาใช้ในการสร้างภาพเคลื่อนไหวได้อย่างสะดวกโดยต้องเพิ่มขั้นตอนการเคลื่อนไหวทีละภาพด้วยแล้วใช้สมรรถนะของโปรแกรมในการเรียนภาพเหล่านั้นให้ปรากฏเห็นเป็นภาพเคลื่อนไหวเพื่อใช้ในการนำเสนอหรือเป็นภาพประกอบเว็บเพจ
ภาพเคลื่อนไหวแบบวีดิทัศน์
ภาพเคลื่อนไหวแบบวีดิทัศน์ (full-motion video) เป็นการนำเสนอภาพเคลื่อนไหวด้วยความเร็ว 30 ภาพต่อวินาทีด้วยความคมชัดสูง (หากใช้ 15-24ภาพต่อวินาทีจะเป็นภาพความคมชัดต่ำ) การถ่ายทำภาพเคลื่อนไหวแบบวีดิทัศน์จะต้องถ่ายภาพก่อนด้วยกล้องวีดิทัศน์แล้วจึงตัดต่อด้วยโปรแกรมสร้างภาพเคลื่อนไหว เช่น Adobe Premiere และ Ulead VideoStudio ปกติเป็นไฟล์ภาพลักษณะนี้จะมีขนาดใหญ่มากจึงต้องลดขนาดไฟล์ให้เล็กลงด้วยการใช้เทคนิคการบีบอัดภาพ (compresson) ด้วยการลดพารามิเตอร์บางส่วนของสัญญานในขณะที่คงเนื้อหาสำคัญไว้ รูปแบบภาพเคลื่อนไหวแบบวีดิทัศน์บีบอัดที่ใช้กันทั่วไปได้แก่ Quicktime,AVI, และ MPEG 1 ใช้กับแผ่นวีซีดี MPEG 2 ใช้กับแผ่นดีวีดี MPEG 4 ใช้ในการประชุมทางไกลด้วยวีดิทัศน์และ streaming media
เสียง
เช่นเดียวกับข้อมูลภาพ เสียงที่ใช้ในสื่อประสมไม่ว่าเป็นเสียงพูด เสียงพลงหรือเสียงเอ็ฟเฟ็กต่างๆ จะต้องจัดรูปแบบเฉพาะเพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจและใช้งานได้ โดยการบันทึกเสียงลงคอมพิวเตอร์และแปลงเสียงจากระบบแอนะล็อกให้เป็นดิจิทัล แต่เดิมรูปแบบเสียงที่นิยมใช้กันจะมี 2 รูปแบบ คือ WAV (waveform) จะบันทึกเสียงจริงดังเช่นเสียงเพลงและเป็นไฟล์ขนาดใหญ่จึงจำเป็นต้องได้รับการบีบอัดก่อนนำไปใช้ และ MIDI (Musical Instrumant Digital Interface) เป็นการสังเคราะห์เสียงเพื่อสร้างเสียงใหม่ขึ้นมาจึงทำให้มีขนาดเล็กกว่าไฟล์ WAV แต่คุณภาพเสียงจะด้อยกว่า ในปัจจุบันไฟล์เสียงนิยมใช้กันแพร่หลายอีกรูปแบบหนึ่งเนื่องจากเป็นไฟล์ขนาดเล็กกว่ามากได้แก้ MP3 (ย่อมาจาก MPEG 1, audio layer 3 ไม่ใช้ MPEG 3 ดังที่หลายคนเข้าใจ)
ส่วนต่อประสาน
เมื่อนำข้อมูลต่างๆ มารวบรวมสร้างเป็นไฟล์สื่อประสมด้วยซอฟต์แวร์โปรแกรมแล้วการที่จะนำข้อมูลเหล่านั้นมาใช้งานจำเป็นต้องใช้ส่วนต่อประสาน (interface) เพื่อให้ผู้ใช้สามารถใช้งานโต้ตอบกับข้อมูลสารสนเทศเหล่านั้นได้ ส่วนต่อประสานที่ปรากฏบนจอภาพจะมีมากมายหลายรูปแบบ เช่น รายการเลือก (menu) และสัญรูปต่างๆ เป็นต้น
การเชื่อมโยง
ไฟล์สื่อประสมที่สร้างขึ้นอาจเป็นไฟล์สื่อประสมธรรมดาที่ใช้เพียงส่วนต่อประสานในการทำงาน ดังเช่นการนำเสนอเนื้อหาที่บรรจุข้อความ ภาพ และเสียงครั้งละสไลด์เรียงตามลำดับด้วยโปรแกรม PowerPoint แต่หากเป็นไฟล์สื่อประสมเชิงโต้ตอบที่ให้ผู้ใช้คลิกปุ่มหรือสัญรูปซึ่งเป็นจุดเชื่อมโยงเพื่อนำไปเนื้อหาที่อื่นๆ ได้ โดยการเชื่อมโยงนี้จะสร้างการเชื่อมต่อระหว่างข้อมูลตัวอักษร ภาพ และเสียง โดยการใช้สี ข้อความขีดเส้นใต้ หรือภาพกราฟิกที่แทนสัญลักษณ์ต่างๆ เช่น รูปลำโพง หรือให้ผู้ใช้คลิกที่จุดเชื่อมโยงเหล่นนั้นไปยังข้อมูลที่ต้องการ
สรุป รูปแบบการเรียนการสอนที่ผู้สอน และผู้เรียนไม่จำเป็นต้องพบกันตามเวลาในตาราง ที่กำหนดไว้ แต่ผู้สอนและผู้เรียนสามารถติดต่อกันได้ตลอดเวลา โดยใช้เครื่องมือสื่อ สารต่าง ๆ ซึ่งเป็นการเรียนรู้ที่ไม่มีข้อจำกัดในเรื่องของเวลา และสถานที่ ผู้เรียนสามารถเรียนที่ไหน เวลาใดก็ได้ เป็นการเรียนที่อาศัยวิธีการ หรือเครื่องมือต่าง ๆ ที่ทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ในลักษณะที่ปฏิสัมพันธ์ และมีส่วนร่วมช่วยเหลือกันระหว่างผู้เรียน โดยใช้แหล่งข้อมูลความรู้ต่าง ๆ ทั้งใกล้และไกล ผู้เรียนสามารถศึกษาค้นคว้า หรือเข้าถึงข้อมูลความรู้เหล่านั้นจากที่ไหน และเวลาใดก็ได้ ตามความต้องการและความสะดวกของผู้เรียนเอง ซึ่งเป็นการใช้การสื่อสารระยะไกลเพื่อช่วยให้การเรียนรู้มีลักษณะใกล้เคียงกับการเรียนในระบบห้องเรียนหรือการเรียนการสอนที่ผู้สอนกับผู้เรียนได้พบหน้ากัน

วันอังคารที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2552

วิธีแก้เมาเหล้า



วันนี้ขอแนะเคล็ดลับวิธีแก้เมาเหล้าแบบง่ายๆ สำหรับนักดื่มมาฝาก...


เริ่มจาก นำกาแฟผงชนิดใดก็ได้ 2 ช้อนโต๊ะ
ผสมน้ำร้อน 1 แก้ว (ห้ามใส่น้ำตาล)
คนให้ละลาย รอจนอุ่นแล้วดื่ม


หรือใช้มะนาว 1 ลูกคั้นเอาแต่น้ำ
แล้วดื่ม ทิ้งไว้ประมาณ 10-15 นาที
ก็จะอาเจียน จากนั้นนอนพักสักครู่
อาการเมาก็จะหายไป



เพียงเท่านี้คุณก็จะหายเมาทันที.

วิธีกำจัดกลิ่นเท้า




ใครที่รู้ตัวว่ามีกลิ่นเท้าแรง วันนี้มีวิธีกำจัดกลิ่นเท้ามาฝาก...

- ทุกครั้งหลังอาบน้ำให้โรยแป้งฝุ่นให้ทั่ว ๆ เพื่อให้เท้าแห้งไม่อับชื้น

- นำถุงน้ำชาที่ชงแล้วสัก 4 - 5 ถุงมาแช่ใส่อ่างผสมน้ำอุ่น และนำเท้าแช่ลงไปประมาณ 5 นาที ทำอย่างนี้อาทิตย์ละ 2 ครั้ง เท้าจะไม่มีกลิ่น เพราะถุงชา จะเปลี่ยนความเป็นกรดด่างและหยุดยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย

- พยายามอย่าให้เท้าหมักหมมอยู่ใน รองเท้า ถุงน่อง หรือถุงเท้านานจนเกินไป


ลองนำวิธีที่แนะนำไปกำจัดกลิ่นเท้ากันดูได้.

วันอังคารที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2552

โจทย์คณิต คนเกือบ 99.99 % ตอบผิด !!!



โจทย์นี้แน่นอนว่าต้องมีคนเคยผ่านตามาแล้ว 50 %
แต่แน่นอนว่าคุณตอบผิด

<ในรถบัสมีคนอยู่ 7 คน>
<แต่ละคนถือกระเป๋า 7 ใบ>
<แต่ละใบมีแมว 7 ตัว>
<แต่ละแมวมีลูก 7 ตัว>
<แมวแต่ละตัวมี 4 ขา>
ถามมีขาอยู่บนรถบัีสทั้งหมดกี่ขา

บางคนดูก็อ้อทันที คิดคำตอบมาได้อย่างฉับไว
ลองกดเครื่องคิดเลขดูแล้วท่านก็จะอ้อ
กรุณาคิดก่อนอ่านเฉลยนะ








กรุณาคิดก่อนอ่านเฉลยนะ









กรุณาคิดก่อนอ่านเฉลยนะ









กรุณาคิดก่อนอ่านเฉลยนะ










แน่นอนวิธีคิดของท่านคือ
7 ยกกำลัง 4 แล้วคูณด้วย 4 ก็จะได้จำนวนขา
คำตอบ คือ 9,604
ถ้าคุณตอบ 9,604 แสดงว่าคุณคือ 0.01 % ในคนทั้งหมด





ซะเมื่อไร - -
ถ้าตอบ 9,604 แสดงว่าคุณคือ 99 % ในนั้น




เฉลยที่แท้จริงอยู่ใน คห.นะ

วันศุกร์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2552

คณิตศาสตร์กวนๆ

1. ธงชาติผืนหนึ่งมี 3 สี ธงชาติทั้งหมด 10 ผืน มีกี่ สี

2.กระบอกแก้วตรง 2 ใบ มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 4 นิ้ว กับ 8 นิ้ว ถ้าเอา รองวางน้ำฝนที่ตกหนักครั้งหนึ่ง ปรากฏว่าแก้วตวงปาก 4 นิ้วได้น้ำ สูง 2 นิ้ว *อยากทราบว่ากระบอกแก้วตรงปากกว้าง 8 นิ้วจะได้ระดับ น้ำสูงเท่าไร

3. ถ้าเทน้ำลงในปีบ 1 ครั้งก่อน แล้วเทน้ำมันลงไป จะได้ของเหลว 2 ชั้น *อยากทราบว่าถ้าเทลงไปอย่างนี้อีก 4 ครั้ง จะได้ของเหลวในปีบนั้นกี่ชั้น

4.ชายคนหนึ่งกู่ครั้งหนึ่งได้ยินไปไกล 2 ไมล์ ถ้าเพื่อนของเขาอยู่ไกลออกไป เป็นระยะทาง4 ไมล์เขาต้องกู้กี่ครั้ง จึงจะได้ยิน

5. ไม้ขีด 1 ก้าน จุดเทียนได้ 2 แท่ง *ถ้าจุดเทียน 100 แท่ง ต้องใช้ไม้ขีดกี่ก้าน

6. สุนัขวิ่งไล่โจรผู้ร้ายคนหนึ่ง โดยที่โจรอยู่ห่างจากสุนัข 6 เมตร โจรวิ่งใน 1วินาที โจรก้าวขา 1ครั้ง ได้ระทาง 1 เมตร สุนัขวิ่งใน 1 วินาที ก้าวขา 3 ครั้ง ได้ระยะทาง 1เมตร *อยากทราบว่าสุนัขจะวิ่งไล่ทันโจรในเวลาเท่าไร

7. นาย ก. ทำตุ๊กตาตัวหนึ่งแล้วใน 2 วัน นาย ข. ทำม้าโยกตัวหนึ่งแล้วใน 3 วัน
นาย ค. ทำเก้าอี้หมุนตัวหนึ่งแล้วใน 4 วัน
***ถ้าให้ทั้ง 3 คนทำเฉพาะงานที่ตนถนัด ทำเก้าอี้หมุนตัวหนึ่ง
ม้าโยกตัวหนึ่ง และตุ๊กตาตัวหนึ่งจะเสียเวลากี่วัน

8. นายดำมีทราย 7 กอง นายแดงมีทราย 3 กอง นายขาวมีทราย 6 กอง
***ถ้าสามคนขนทรายมารวมกันจะเป็นกองทรายทั้งหมดกี่กอง

9.มีธนบัตรฉบับละ 10 บาท อยู่ 3 ใบ ถ้าเอาไปซื้อ ของ 5 บาท ให้เงินเขาไป จะได้รับเงินทอนกี่บาท

10. นำ 6 ลบออกจาก 30 ได้กี่ครั้ง
_______________________________________________
เฉลย
1. 3 สีเอง
2. 2 น้ิว
3. 2 ชั้น
4. กู่เท่าไหร่ก็ไม่ได้ยิน
5. 1 ก้านเท่านั้น
6. วิ่งไม่ทัน
7. 4 วัน
8. 1 กอง
9. 5 บาท
10. ครั้ง เดียว

วันอังคารที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ใครอยากสมองไบรท์ฟังทางนี้

- จิบน้ำบ่อย ๆ เพราะสมองประกอบด้วยน้ำ 85% ถ้าดื่มน้ำน้อยเกินไปจะส่งผลให้การส่งข้อมูลช้า กลายเป็นคนคิดช้าหรือคิดไม่ค่อยออก

- กินไขมัน เช่น น้ำมันปลา สารสกัดใบแปะก๊วย ปลาแซลมอน นมถั่วเหลือง วิตามินบีรวม เป็นต้น
เพราะอาหารจำพวกนี้จะไปซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของเนื้อสมอง

- นั่งสมาธิ ทุกเช้าหลังจากตื่นนอน ช่วงสั้นๆประมาณ 10-15 นาที เพื่อให้สมองรู้สึกผ่อนคลาย

- ใส่ความตั้งใจ การตั้งใจในสิ่งใดก็ตาม เหมือนการโปรแกรมสมองว่านี่คือสิ่งที่ต้องเกิดระหว่างวัน สมองจะปรับพฤติกรรมไปสู่เป้าหมายนั้น ทำให้ประสบความสำเร็จในสิ่งต่าง ๆ

- หัวเราะและยิ้ม ทุกครั้งที่ยิ้มหรือหัวเราะ จะมีสารเอ็นโดรฟิน ซึ่งเป็นสารแห่งความสุข หลั่งออกมา เพื่อเป็นการกระตุ้น ให้มีความอยากรักและหวังดีต่อคนอื่น

รู้อย่างนี้แล้ว อย่าลืมนำวิธีที่แนะนำไปปฏิบัติตามกันดูได้



ขอบคุณ เดลินิวส์

Myspace Contact Tables